งานพัฒนาหลักสูตรและการสอนเป็นงานสังกัดกองบริการการศึกษา มีหน้าที่รับผิดชอบ เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรของทุกคณะก่อนนำเสนอมหาวิทยาลัยพิจารณา เพื่อให้เป็นไปตาม เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เช่น ตรวจ สอบความถูกต้องของรูปแบบ โครงสร้างของหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร ฯลฯ รวมทั้ง จัดทำทะเบียนหลักสูตร จัดทำสถิติข้อมูลหลักสูตร / สาขาวิชา ทั้งระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา การเสนอหลักสูตร การขอเปิดหลักสูตรให้ดำเนินไปตามแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา จัดทำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการให้ปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาครุยวิทยฐานะ เข็ม วิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่ง ดำเนินการในเรื่องงานวิชาการ ยังมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริหารวิชาการ สภาวิชาการ โดยเป็นบุคลากรในฝ่ายงานเลขานุการ ทำหน้าที่ในด้าน การดูแลระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษาของมหาวิทยาลัย การเตรียม การสำหรับการประชุมบริหารวิชาการ สภาวิชาการ การแจ้งและติดตามมติที่ประชุมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การจัดทำคู่มือการศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติและภาคพิเศษ และการจัดทำ Home Page ของงานพัฒนาหลักสูตร เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลของงานพัฒนาหลักสูตรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจทั่วไปได้ทราบ โดยแบ่งหน่วยงานภายในออกเป็น 3 หน่วยงาน ดังนี้

  1. หน่วยหลักสูตรและการศึกษา
  2. หน่วยส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตร
  3. หน่วยบริหารทั่วไป

โดยมีภาระหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้

1. หน่วยหลักสูตรและการศึกษา มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้

1. การดำเนินการหลักสูตรใหม่

(1) ตรวจสอบแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา
(2) วิเคราะห์ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(3) วิเคราะห์ตามข้อปฏิบัติ / ระเบียบของมหาวิทยาลัย
(4) วิเคราะห์ตามเกณฑ์มาตรฐานของสมาคมวิชาชีพฯ
(5) พิจารณารายละเอียดเชิงรูปแบบ

2. การดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร

(1) ตรวจสอบหลักสูตรเดิมในการได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(2) ตรวจสอบหลักสูตรปรับปรุงเปรียบเทียบตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(3) ตรวจสอบรูปแบบการเสนอตามข้อปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(4) ถ้าเป็นการปรับปรุงที่เกิดขึ้นหลายส่วนหรือกระทบโครงสร้างของหลักสูตรตามลักษณะที่บ่งชี้ว่าปรับปรุงมาก จะต้องนำดำเนินการเสนอรูปเล่มหลักสูตรใหม่

3. การขอเปิดสอนหลักสูตรใหม่
ตรวจสอบเอกสารความพร้อม รายละเอียดข้อมูลการขอเปิดสอนให้เป็นไปตามแบบฟอร์ม

4. นำเสนอหลักสูตรใหม่ / หลักสูตรปรับปรุง เอกสารความพร้อมในการขอเปิดสอนให้คณะกรรมการบริหารวิชาการพิจารณา

5. นำเสนอหลักสูตรใหม่ / หลักสูตรปรับปรุง เอกสารความพร้อมในการขอเปิดสอนให้คณะกรรมการสภาวิชาการพิจารณา

6. นำเสนอหลักสูตรใหม่ / หลักสูตรปรับปรุง เอกสารความพร้อมในการขอเปิดสอนให้คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยพิจารณา

7. นำเสนอหลักสูตรใหม่ / หลักสูตรปรับปรุง ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับทราบการให้ความเห็นชอบ

8. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเสนอหลักสูตรใหม่ / หลักสูตรปรับปรุงให้สำนักงาน ก.พ. รับรองคุณวุฒิ

9. การจัดทำทะเบียนหลักสูตร

(1) รวบรวมข้อมูลหลักสูตรที่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(2) ตรวจทานความถูกต้องข้อมูล
(3) จัดทำเป็นฐานข้อมูล

10. การจัดทำสถิติข้อมูลหลักสูตร

(1) รวบรวมข้อมูลหลักสูตรที่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในแต่ละปี
(2) ตรวจทานความถูกต้องข้อมูล
(3) จัดทำเป็นฐานข้อมูล

11. การจัดทำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการให้ปริญญาในสาขาวิชาฯ

(1) สำรวจความต้องการเปิดหลักสูตรใหม่ที่ยังไม่มีตราในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการให้ปริญญาในสาขาวิชาฯ จากคณะ / วิทยาลัย
(2) ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการให้ปริญญาในสาขาวิชาฯ
(3) เสนอกรรมการบริหารวิชาการเพื่อพิจารณา
(4) เสนอกรรมการสภาวิชาการเพื่อพิจารณา
(5) เสนอกรรมการสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณา
(6) เสนอสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อพิจารณา
(7) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
(8) คณะรัฐมนตรีทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกฤษฎีกาฯ
(9) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

12. ดูแลระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษา

(1) ร่างระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศและแนวปฏิบัติ
(2) เสนอกรรมการบริหารวิชาการเพื่อพิจารณา
(3) เสนอกรรมการสภาวิชาการเพื่อพิจารณา
(4) เสนอกรรมการที่ปรึกษากฎหมายพิจารณา
(5) เสนออธิการบดีลงนาม
(6) แจ้งทุกหน่วยงาน

13. การจัดทำข้อมูลการรับรองปริญญาของมหาวิทยาลัย

(1) รวบรวมข้อมูลการให้การรับรองคุณวุฒิที่สำนักงาน ก.พ. ส่งให้มหาวิทยาลัย
(2) ตรวจทานความถูกต้องข้อมูล
(3) จัดทำเป็นฐานข้อมูล

2. หน่วยส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตร มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้

1. การวางแผนการประชุม

2. จัดทำระเบียบวาระการประชุม

3. เตรียมเอกสารและรายละเอียดการประชุม

4. จัดทำใบเซ็นชื่อผู้เข้าประชุม

5. ประสานงานการประชุมกับผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัย

6. ประสานงานการประชุมกับผู้เข้าประชุมภายในมหาวิทยาลัย

7. รับผิดชอบการประชุมต่าง ๆ ที่จัดอยู่เป็นประจำ ดังนี้

(1) ประชุมคณะกรรมการสภาวิชาการ
(2) ประชุมคณะกรรมการบริหารวิชาการ
(3) ประชุมคณะกรรมการบริหารการศึกษาภาคพิเศษ

8. บันทึกการประชุมระหว่างการประชุม

9. จัดทำร่างรายงานการประชุมเสนอเลขานุการที่ประชุม

10. จัดพิมพ์ ตรวจทานรายงานการประชุม และตรวจสอบความถูกต้องในเบื้องต้น

11. เสนอรายงานการประชุมต่อที่ประชุมและหรือต่อกรรมการเพื่อพิจารณารับรอง

12. แจ้งมติที่ประชุมให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องทราบ

13. ดำเนินการตามมติที่ประชุมในเรื่องที่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานใด และตามที่ผู้บริหารมอบหมาย

14. คู่มือการศึกษา

(1) ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ
(2) รวบรวมข้อมูล
(3) ตรวจสอบข้อมูล
(4) จัดทำต้นฉบับเอกสารคู่มือการศึกษาปริญญาตรีภาคปกติ
(5) จัดทำต้นฉบับเอกสารคู่มือการศึกษาปริญญาตรีภาคพิเศษ
(6) ตรวจสอบความถูกต้องเอกสารคู่มือการศึกษาปริญญาตรีภาคปกติ
(7) ตรวจสอบความถูกต้องเอกสารคู่มือการศึกษาปริญญาตรีภาคพิเศษ
(8) จัดส่งต้นฉบับให้งานส่งเสริมวิจัยและตำราในการจัดทำรูปเล่ม

15. การจัดทำ Home Page งานพัฒนาหลักสูตรและการสอน

(1) รวบรวมข้อมูลงานพัฒนาหลักสูตรและการสอน
(2) จัดทำรูปแบบการทำ Home Page
(3) ให้นักโปรแกรมเขียน Home Page
(4) ตรวจทานความถูกต้องของข้อมูล
(5) นำเสนอข้อมูลผ่านเว็บไซด์กองบริการการศึกษา

3. หน่วยบริหารทั่วไป มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้

1. งานสารบัญ

(1) รับเข้าหนังสือเข้าภายใน ภายนอก
(2) แจกแจงเรื่องตามคำสั่งการ
(3) จัดเก็บเอกสารที่ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว แยกแฟ้มภายในและภายนอก เพื่อความสะดวกในการค้นหา

2. ร่าง โต้ตอบจัดพิมพ์หนังสือภายใน ภายนอก

(1) ศึกษาข้อมูล
(2) ดำเนินการร่าง / รับเรื่องจากหัวหน้าฯ
(3) ดำเนินการพิมพ์
(4) ตรวจทานความถูกต้องโดยหัวหน้า
(5) เสนอลงนามโดยผ่านงานธุรการ

3. คำสั่ง / ประกาศ มหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง

(1) รวบรวมรายชื่อคณะกรรมการในคำสั่ง
(2) ร่างคำสั่ง / ประกาศ
(3) ตรวจทานความถูกต้อง
(4) เสนอลงนามโดยผ่านงานธุรการ
(4) ส่งคำสั่ง / ประกาศ ตามรายชื่อ / หน่วยงาน

4. งานอื่นที่ได้รับมอบหมาย